อำนาจหน้าที่

การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง นั้น เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหา ตลอดจนร่วมสร้างร่วมส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงจะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน ในพื้นที่เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนด้านพัฒนาอาชีพนั้น จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้เป็น 7 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและ องค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537( แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับปัจจุบัน ) และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

  1. การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทางบกและทางน้ำ มาตรา 67 (1)
  2. ให้มีน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร มาตรา 68 (1)
  3. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น มาตรา 68 (2)
  4. ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ มาตรา 68 (3)
  5. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ มาตรา 16 (4)
  6. การสาธารณูปการ มาตรา 16 (5)

ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต

  1. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ มาตรา 67 (6)
  2. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ มาตรา 67 (3)
  3. ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬาการพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ มาตรา 68 (4)
  4. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส มาตรา 16 (10)
  5. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย มาตรา 16 (2)
  6. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล มาตรา 16 (19)

ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย

  1. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มาตรา 67 (4)
  2. การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มาตรา 68 (8)
  3. การผังเมือง มาตรา 68 (13)
  4. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง มาตรา 16 (17)
  5. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน มาตรา 16 (5)

ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว

  1. ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว มาตรา 68 (6)
  2. ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์ มาตรา 68 (5)
  3. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร มาตรา 68 (7)
  4. ให้มีตลาด มาตรา 68 (10)
  5. การท่องเที่ยว มาตรา 68 (12)
  6. กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ มาตรา 68 (11)
  7. การส่งเสริม การฝึกและการประกอบอาชีพ มาตรา 16 (6)

ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  1. การคุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาตรา 67 (7)
  2. รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งฝอยและสิ่งปฏิกูล มาตรา 67 (2)
  3. การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ มาตรา 17 (12)

ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

  1. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น มาตรา 67 (8)
  2. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มาตรา 67 (5)
  3. การจัดการศึกษา มาตรา 16 (9)
  4. การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น มาตรา 17 (18)

ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  1. สนับสนุนสภาตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องงถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
  2. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรืบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร มาตรา 67 (9)
  3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร ในการมีมาตรการป้องกัน มาตรา 16 (16)
  4. การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 17 (3)
  5. การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น มาตรา 17 (16)
54_1651026607 55_1651026607 56_1651026607